views

มาตรการสรรพากรส่งเสริมผู้ประกอบการทำบัญชี


คุณสมบัติของผู้ประกอบการ ที่เป็นนิติบุคคลเสียภาษีจากกำไรสุทธิ

- มีรายได้ทางภาษีไม่เกิน 500 ล้านบาท สำหรับรอบบัญชีสุดท้ายที่ครบ 12 เดือน ซึ่งสิ้นสุดก่อนหรือในวันที่ 30 ก.ย. 61


- ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ของรอบบัญชีสิ้นสุดก่อนในวันที่ 30 ก.ย. 61 ภายในวันที่ 25 มี.ค. 62


- ไม่เป็นผู้ออก/ผู้ใช้ใบกำกับภาษีปลอม ตามประมวลกฎหมายอาญาที่กรมสรรพากรได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว ภายในวันที่ 25 มี.ค. 62


หลักเกณฑ์และเงื่อนไข

-เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่คุณสมบัติตาม พ.ร.บ.


-ลงทะเบียนผ่านกรมสรรพากร ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 62 ถึงวันที่ 30 มิ.ย. 62


-ยื่นแบบฯหรือยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินพร้อมชำระภาษีให้ครบถ้วนทั้งจำนวน ภายใน 30 มิ.ย. 62


-กรณีที่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินฯ แล้วจะไม่ได้รับการยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่มสำหรับกรณีดังกล่าว


-ยื่นแบบฯสำหรับภาษีอากรทุกประเภทผ่านระบบ E-FILING สำหรับการยื่นแบบตั้งแต่ 1 ก.ค. 62 – 30 มิ.ย. 63


สิทธิประโยชน์

ยื่นแบบฯ พร้อมชำระภาษีทั้งจำนวน ยกเว้นเบี้ยปรับ/เงินเพิ่มกรณี

-การยื่นแบบ ภ.ง.ด.50/51 สำหรับรอบฯ ที่เริ่มในหรือหลัง 1 ม.ค. 59 – 31 ธ.ค. 60

-การยื่นแบบ ภ.พ.30/ภ.ธ.40 สำหรับเดือนภาษี ม.ค. 59 ถึงเดือนภาษี ก.พ. 62

-หัก ณ ที่จ่าย สำหรับธุรกรรมที่เกิดขึ้นตั้งแต่ 1 ม.ค. 59 จนถึงวันที่ 25 มี.ค. 62

 -การขอเสียอากรเป็นตัวเงิน ซึ่งได้กระทำตั้งแต่ 1 ม.ค. 59 จนถึงวันที่ 25 มี.ค. 62

***เมื่อได้ยื่นแบบฯพร้อมชำระภาษีแล้ว ภายใน 30 มิ.ย. 62 ไม่ต้องเสียค่าปรับอาญา


ดูรายละเอียด บริการรับทำบัญชีเพิ่มเติม กดที่นี่


ภาษีไม่เป็นต้นทุนของกิจการ

ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มีความเข้าใจผิดว่า “ภาษีเป็นต้นทุนของกิจการ” จึงได้ทำการหลบเลี่ยงโดยการจัดทำบัญชีหลายชุดซึ่งแต่ละชุด

มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน และการจัดทำบัญชีหลายชุดนั้นจะส่งผลให้งบการเงินของกิจการเกิดข้อผิดพลาดและไม่สะท้อนสภาพที่แท้จริงของกิจการ และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562

การทำธุรกรรมกับธนาคารจะต้องใช้งบการเงินที่ยื่นต่อกรมสรรพากรซึ่งผู้ประกอบการจำนวนมากไม่สามารถแก้ไขงบการเงินให้มีความถูกต้อง และเป็นปัจจุบันได้

อีกทั้งกรมสรรพากรได้นำเทคโนโลยีมาใช้ร่วมในการวิเคราะห์ รวมทั้งช่วยในการตรวจสอบภาษี ซึ่งเมื่อเจ้าหน้าที่พบว่า ผู้ประกอบการมีการหลีกเลี่ยงภาษีจึงต้องรับภาระทั้งเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม

และความรับผิดทางอาญา ดังนั้นเพื่อเป็นการบรรเทาภาระของผู้ประกอบการ SMEsกรมสรรพากรจึงมีมาตรการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ จัดทำบัญชี รวมทั้งสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs

ให้จัดทำงบการเงินที่ถูกต้องและสอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ ซึ่งประโยชน์ของบัญชีชุดเดียวนั้น นอกจากจะทำให้ผู้ประกอบการทราบถึงสถานะกิจการของตนเองแล้ว

ยังช่วยผู้ประกอบการในการมีงบการเงินที่มีความถูกต้อง เชื่อถือได้ และใช้ในการยื่นขอสินเชื่อกับธนาคารได้อีกด้วย

ที่มาของข้อมูล: กรมสรรพากร http://www.rd.go.th



รับจดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน
โทรศัพท์ :  097 236 2994
ไอดีไลน์ :  p2pacc
p2paccounting.com

บทความที่น่าสนใจ