views

การทำบัญชีธุรกิจส่วนตัว

การทำบัญชีธุรกิจส่วนตัว เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจสามารถวิเคราะห์จุดคุ้มทุน ทราบถึงข้อมูลการขายและวางแผนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ



ความสำคัญของ การทำบัญชีธุรกิจส่วนตัวต้องจัดให้มีการทำบัญชีรายรับรายจ่ายตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด


เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการเสียเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีและใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานของกิจการได้


โดยจะต้องบันทึกรายการต่าง ๆ ทุกวันจัดทำรายงานประจำปี สามารถแสดงผลลัพธ์ทางด้านบัญชีขององค์กรได้อย่างถูกต้องชัดเจน


 การทำบัญชี คืออะไร

เป็นการบันทึกธุรกรรมทางการเงินและเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ การบัญชีในธุรกิจ ธุรกรรมนี้รวมถึง การซื้อ การขายรายรับ และ รายจ่าย


โดยบุคคล หรือ องค์กร บริษัทที่มีวิธีการทำบัญชีมาตรฐานหลากหลายวิธีอย่างเป็นระเบียบถูกต้องตามหลักการ


และสามารถแสดงผลการดำเนินงาน และ ฐานะการเงินของกิจการในระยะเวลาหนึ่งได้

 

การทำบัญชีธุรกิจส่วนตัว ทำไมต้องจัดทำ

ก่อนอื่น ผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจและศึกษาเรื่องการทำบัญชีให้ละเอียด และจัดทำให้ถูกต้อง


เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างมาก การมีระบบบัญชีที่ดี ข้อมูลถูกต้องครบถ้วนจะช่วยให้


**สามารถวิเคราะห์จุดคุ้มทุนกำหนดตัวเลขการขายสู้กับคู่แข่งได้


**ทำให้ทราบถึงข้อมูลการขาย ประเภทสินค้าเวลาการขาย ทำให้วางแผนในการเจาะตลาดหรือกลุ่มเป้าหมายได้

 

เหตุผลหลักสำหรับ การทำบัญชีธุรกิจส่วนตัว

**เพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับของกฎหมาย


**เพื่อให้เจ้าของกิจการได้ทราบถึงความมั่งคั่งของกิจการมีสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ อยู่เป็นจำนวนเท่าใด


**เพื่อเป็นการบันทึกเหตุการณ์ทางการค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ


**เพื่อเป็นปัจจัยหนึ่งในการประกอบการตัดสินใจในการลงทุนของนักธุรกิจและเพื่อประกอบการตัดสินใจในการบริหารของเจ้าของกิจการ


**เพื่อเป็นการป้องกันการทุจริตและการสูญหายของสินทรัพย์
 

 กฎหมายได้กำหนดให้ทุกบริษัทฯต้องมีการจัดทำบัญชีทุกเดือน และ ส่งงบการเงินไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง


เพื่อประโยชน์ของการทำบัญชีคือให้บริษัทฯได้รู้ว่าผลการดำเนินงานของบริษัทมีผลประกอบการ กำไร หรือขาดทุนเท่าไหร่


บริษัทที่ประสบความสำเร็จจะมีการปิดบัญชีทุกเดือน นำผลประกอบการที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงการทำงานของบริษัทให้ดียิ่งขึ้น


ซึ่งการทำบัญชีจะยื่นภาษีให้ถูกต้องตามสมควรถ้าเราทำบัญชีดีเสียภาษีถูกต้อง ก็ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับสรรพากร

 

ประโยชน์ของการทำบัญชีธุรกิจส่วนตัว


1.วางแผนการดำเนินงานง่าย

    จะทำให้เจ้าของธุรกิจได้มองเห็นภาพรวมของกิจการทั้งหมดว่ารายการบัญชีแต่ละส่วนนั้นเป็นอย่างไร มีรายได้ ค่าใช้จ่าย ผลกำไร ขาดทุนที่เหมาะสมหรือไม่


    ทำให้ช่วยตัดสินใจในการดำเนินกิจการได้ง่ายขึ้นยิ่งมีระบบบัญชีที่ดี มีข้อมูลที่เชื่อถือได้มาก จะช่วยให้ตัดสินใจและวางแผนการดำเนินงานต่างๆ ได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น
 

2.ช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายของกิจการ

    การทำระบบบัญชีจะทำให้เจ้าของกิจการมองเห็นต้นทุน และค่าใช้จ่ายของกิจการทั้งหมดได้สามารถย้อนดูการใช้จ่ายของธุรกิจ


    จะเห็นได้ว่ารายการใดมีความจำเป็นหรือไม่จำเป็นแต่อย่างใดลักษณะนี้จะช่วยให้เจ้าของกิจการสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น
 

3.มองเห็นปัญหา และภาพรวมของกิจการ

    หากธุรกิจใด ๆ ก็ตามที่ไม่มีการทำบัญชีไม่มีการบันทึกความเคลื่อนไหวของรายการบัญชีในแต่ละวันเจ้าของกิจการอาจไม่รู้เลยว่ากิจการกำลังวิกฤตกระแสเงินสดอยู่หรือไม่


    ขาดสภาพคล่องในการทำธุรกิจหรือไม่อย่างไร หรือ มีการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นมากเกินไปดังนั้น การทำระบบบัญชีจึงเลยมีส่วนช่วยให้เจ้าของกิจการมองเห็นปัญหาในการทำธุนกิจได้


    สามารถปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานได้อย่างรวดเร็วและช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจได้เลย


 

4.เพิ่มการตัดสินใจในการทำธุรกิจ

    ระบบบัญชีมีส่วนช่วยในการวางแผนการดำเนินงานของธุรกิจยิ่งไปกว่านั้นยังมีส่วนช่วยในการตัดสินใจได้มากเพราะการรายงานผลการดำเนิน


    งานหรืองบการเงินของบริษัทนั้นจะช่วยให้เรามองเห็นการดำเนินงานของธุรกิจได้ชัดเจนสามารถคาดการณ์อนาคตของธุรกิจได้


    มองเห็นภาพรวมทำให้สามารถตัดสินใจในเรื่องการลงทุนหรือการพัฒนาธุรกิจได้เห็นประสิทธิผลมากขึ้น
 

5.เร่งจัดการภาษีได้ทันท่วงที

    การทำระบบที่ถูกต้องจะช่วยให้บริษัทสามารถรับทราบถึงผลกำไร ขาดทุน ในแต่ละปีได้อย่างชัดเจนและรวดเร็ว


    และเป็นส่วนช่วยผู้ประกอบการในการเลือกวางแผนภาษีได้ล่วงหน้า ช่วยทำให้เกิดประโยชน์กับกิจการได้มากขึ้น
 


การทำบัญชีธุรกิจส่วนตัว ต้องทำอะไรบ้าง


" การทำบัญชีธุรกิจส่วนตัว ที่จะต้องจัดทำมีอยู่ 4 ประเภทหลัก ๆ คือ "


1.บัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภท และ บัญชีสินค้า     

**บัญชีรายวันรับเงิน –เป็นบัญชีขั้นต้นที่ใช้สำหรับ การบันทึกรายการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการได้รับเงินสดหรือ


การเพิ่มขึ้นในเงินฝากธนาคาร และ บัญชีธนาคารหลากบัญชีต้องแยกแต่ละเลขที่บัญชีธนาคาร


    **บัญชีรายวันจ่ายเงิน –เป็นบัญชีขั้นต้นที่จะใช้บันทึกรายการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการจ่ายเงินสด หรือการลดลงของเงินฝากธนาคารกรณีถ้ามีบัญชีธนาคารหลายบัญชีต้องแยกแต่ละเลขที่บัญชีธนาคาร


    **บัญชีรายวันซื้อ –เป็นบัญชีขั้นต้นที่ใช้บันทึกเฉพาะรายการที่เกี่ยวกับการซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อเท่านั้น


    **บัญชีรายวันขาย –เป็นบัญชีขั้นต้นที่ใช้บันทึกเฉพาะรายการที่เกี่ยวกับการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อเท่านั้น


    **บัญชีแยกประเภท – เป็นบัญชีที่จัดทำขึ้นเพื่อแยกต่างหากสำหรับรายการต่าง ๆ ในงบการเงิน


โดยผ่านรายการตามประเภทบัญชีที่เกิดขึ้น เช่น บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สินทุนรายได้ ค่าใช้จ่าย เจ้าหนี้ และลูกหนี้


    **บัญชีสินค้า หรือ วัตถุดิบ – เป็นบัญชีที่แสดงการเคลื่อนไหวของปริมาณสินค้าหรือวัตถุดิบแต่ละชนิด และประเภทว่ามีปริมาณรับเข้ามา


จ่ายออกไปและยอดคงเหลือเท่าใด  โดยจะแสดงมูลค่าต่อหน่วยและมูลค่ารวมด้วย หรือไม่ก็ได้ 


ซึ่งตามกฎหมายบัญชีกำหนดให้ธุรกิจที่ทำการผลิต หรือธุรกิจซื้อขายสินค้าต้องจัดทำบัญชีสินค้าหรือวัตถุดิบด้วย
 

2.ข้อความและรายการที่ต้องระบุในบัญชี ได้แก่

ข้อความที่หน้าปกบัญชี โดยต้องมีสามเรื่องคือ (1) เป็นบัญชีของใคร (ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี)  (2) ประเภทของบัญชี เช่น บัญชีเงินสด บัญชีรายวัน

บัญชีแยกประเภท


(3) บัญชีเล่มที่เท่าไหร่ กรณีที่มีหลายเล่ม ส่วนในตัวบัญชีอย่างน้อยต้องมี ชื่อบัญชีแยกออกมาจากชื่อบัญชีหลัก เช่น ค่าเงินเดือน ค่า

ไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์พร้อมวันที่ลงบัญชี


 อ่านบทความทำบัญชีเองหรือจ้างสำนักงานบัญชี



3.เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี

เอกสารที่จัดทำขึ้นโดยบุคคลภายนอก ได้แก่ใบเสร็จรับเงินที่ได้จากการซื้อสินค้า เป็นใบเสร็จตัวจริง ใบรับสินค้าใบกำกับสินค้า


เอกสารที่จัดทำขึ้น โดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อออกให้แก่บุคคลภายนอกเช่น ใบเสร็จรับเงินตัวจริงที่ออกให้แก่ลูกค้า 


ส่วนตัวผู้ประกอบการจะเก็บสำเนาไว้ และสุดท้ายเอกสารที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อใช้ภายในกิจการ คือใบบันทึกรายการต่าง ๆ


เช่น ภายในกิจการต้องจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในสำนักงาน หากไม่มีใบเสร็จมาทางสถานประกอบการก็อาจจะบันทึกขึ้นมาเอง


โดยเขียนเป็นรายการว่า ซื้ออะไรมาวันที่เท่าไหร่ ใช้ไปเพื่อการอะไร และลายมือชื่อของผู้อนุมัติรายการเป็นผู้มีอำนาจในการอนุมัติด้วย
 

4.ระยะเวลาในการทำบัญชี

ตามกฎหมายบัญชี การทำบัญชีคือ ให้เริ่มทำบัญชีนับแต่วันที่ได้รับการจดทะเบียน หรือวันเริ่มประกอบการ  เมื่อทราบถึงรายละเอียดการทำบัญชีแล้วมาถึงการปิดงบการเงิน


อ่านรายละเอียดบริการรับวางระบบบัญชี


การปิดงบการเงิน

ต้องปิดตามที่กฎหมายกำหนด คือจดทะเบียนวันที่เท่าไหร่ก็ได้ แต่ต้องปิดงบภายใน 12 เดือน เช่น จดทะเบียนวันที่ 21มกราคม 2550 ตามปฏิทินก็ใช้วันที่ 31 ธันวาคม 2550


หรือใช้ภายใน 12 เดือนคือปิดวันที่ 21 มกราคม 2550 ก็ได้ ถ้ารอบแรกปิดเมื่อไหร่ รอบต่อไปก็ต้องชน 12เดือน แต่ทั้งนี้ต้องดูข้อบังคับบริษัทด้วย คือต้องยึดข้อบังคับบริษัทเป็นหลัก
 

การนำส่งงบการเงิน

สำหรับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนนิติบุคคลต่างประเทศ กิจการร่วมค้าจะต้องจัดทำและยื่นงบการเงินภายใน 5 เดือน นับแต่วันปิดบัญชี


ส่วนบริษัทจำกัด และ บริษัทมหาชนจำกัดจะต้องจัดทำและยื่นงบการเงินภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่งบการเงินได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่


รายละเอียดทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องของ การทำบัญชีธุรกิจส่วนตัว ที่ผู้ประกอบการจะต้องตระหนักและรับรู้ไว้จะต้องดำเนินการให้ถูกต้อง


เพราะกฎหมายจะกำหนดให้มีสารวัตรบัญชีสามารถออกไปตรวจสอบบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ในการประกอบการลงบัญชี ในสถานที่ทำการ


หรือสถานที่เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ในการประกอบบัญชีสถานที่รวบรวมหรือประมูล ข้อมูลของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี


หากไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด อาจสั่งเป็นหนังสือให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี หรือผู้ทำบัญชีมาให้ถ้อยคำหรือ


ส่งบัญชี เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีรวมถึงเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำได้เช่นกัน


อ่านบริการรับทำบัญชีราคาประหยัด

บริษัท สำนักงานบัญชี พีทูพี จำกัด
โทรศัพท์ :  097 236 2994
ไอดีไลน์ :  p2pacc
p2paccounting.com

บทความที่น่าสนใจ